การสื่อสารข้อมูล คือ การโอนถ่าย
หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล (Transmission) กันระหว่างต้นทางกับปลายทางโดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยอุปกรณ์
หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการถ่ายโอนหรือเคลื่อนย้ายข้อมูล รวมทั้งยังต้องอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
1.
ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ข้อมูล (Sender) และ ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล
(Receiver) ทั้งอุปกรณ์รับและส่งข้อมูลอาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกันก็ได้อุปกรณ์รับ/ส่งข้อมูลมี 2 ชนิดคือ
1.1 DTE (Data Terminal
Equipment) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลคอมพิวเตอร์
เมนเฟรม เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
1.2 DCE (Data
Communication Equipment) เป็นอุปกรณ์ในการรับ/ส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม Fibrotic
Infrared Wireless เป็นต้น
2. โปรโตคอล
(Protocol) หรือซอฟต์แวร์ (Software)
โปรโตคอล คือ วิธีการ หรือ กฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งข้อมูลเข้าใจกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
ตัวอย่างคือ x.25, SDLC, TCP/IP
ซอฟต์แวร์ คือ ส่วนที่ทาหน้าที่ในการดาเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามที่โปรแกรกำหนด
ตัวอย่างคือ Windows, Novell’s Netware
3. ข่าวสาร
(Message) ข่าวสาร คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร
บางครั้งเรียกว่าสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารมี 4 รูปแบบคือ
- เสียง
(Voice)
- ข้อมูล
(Data)
- ข้อความ
(Text)
- ภาพ
(Picture)
4. สื่อกลาง
(Medium) เป็นสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นกำเนิดไปยังปลายทางสื่อกลางนี้อาจจะเป็น
เส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล หรือสายไฟเบอร์ออปติก เป็นต้น หรืออาจจะเป็นคลื่นที่ส่งผ่านในอากาศ
เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
สื่อกลางส่งข้อมูล
1. การส่งสัญญาณบนสื่อกลางแบบเบสแบนด์ (Baseband) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสำหรับการส่งสัญญาณดิจิทัลในแต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง
โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้การส่งสัญญาณชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถจัดการควบคุมง่าย
ชนิดของสื่อกลางข้อมูล
1. สื่อกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย
สื่อกลางชนิดนี้จะใช้สายเพื่อการลาเลียงข้อมูลระหว่างกัน
ซึ่งประกอบด้วยสายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนาแสง
สายเคเบิลทั้งสามชนิดนี้ ปกติมันนามาใช้งานภายในตึกสำนักงานหรือฝังไว้ใต้ดิน
1.1 สายคู่บิดเกลียว
(Twisted-Pare cable) ลักษณะของสายคู่บิดเกลียวแต่ละคู่จะทำด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นจะมีฉนวนหุ้ม พันกันเป็นเกลียวเพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
นอกจากนี้สายคู่บิดเกลียวยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทที่ไม่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน
หรือเรียกว่าสายยูทีพี (UTP: Unshielded Twisted-Pare Cable) กับแบบที่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน หรือเรียกว่าสายเอสทีพี (STP:
Shielded Twisted-Pare cable)
1.2 สายโคแอกเชียล
(Coaxial Cable) สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน
ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติก กั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
1.3 สายใยแก้วนาแสง
(Fiber Optic) ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ
คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับ
ความเร็วของแสง
2. สื่อกลางส่งข้อมูลแบบไร้สาย
สื่อกลางชนิดนี้จะใช้ลำเลียงข้อมูลผ่านอากาศ
ซึ่งภายในอากาศจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยคลื่นดังกล่าวจะมีทั้งคลื่นความถี่ต่ำและคลื่นความถี่สูง
ดังแสดง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 คลื่นวิทยุ
(Cellular Radio) ลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ
เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ
และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ อย่างไรก็ตาม คลื่นวิทยุนั้นมีความเร็วค่อนข้างต่ำ
อีกทั้งไวต่อสัญญาณรบกวน แต่ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง สะดวกต่อการใช้งาน และผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
2.2 คลื่นไมโครเวฟ
(Microwave) การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ
กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่งแต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่
รับสัญญาณประมาณ 30 - 50 กม.
2.3 สัญญาณดาวเทียม
(Satellite) ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ
(Broadcast) สถานีดาวเทียม 1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง
25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3ของพื้นผิวโลก เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียมเรียกว่า
(Transponder) การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงก์" และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์-ลิงก์"
2.4 สัญญาณบลูทูธ
(Bluetooth) ลักษณะของบลูทูธเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz. สื่อสารได้ในระยะทางไม่เกิน
10 เมตร สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ได้
2.5 อินฟราเรด
(Infrared) ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น
ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน
คลื่นอินฟราเรดนิยมนามาใช้งานสำหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน
เช่น รีโมตคอนโทรล
2.6 สัญญาณไวเสส
(Wireless) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน
โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น